การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการโดยใช้ วิธีสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราษฎร์บำรุงศิลป์

ผู้แต่ง

  • วรปรัชญ์ ครองหิรัญ โรงเรียนราษฎร์บำรุงศิลป์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์, สะเต็มศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราษฎร์บำรุงศิลป์ โดยใช้วิธีจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา เรื่องบันจีจัมป์และประเมินเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 38 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster sampling) และเครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่องบันจีจัมป์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 เรื่องบันจีจัมป์ และแบบประเมินเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 2.95 คะแนน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ผลการวิจัยสรุปได้ว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามสมมติฐานที่วางไว้

References

เกศินี อินถา, ภาณุพัฒน์ ชัยวร, และอโนดาษ์ รัชเวทย์. (2558). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง มหัศจรรย์ยางพารา โดยใช้แนวการสอน STEM กับการพัฒนาการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุพิบูล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2(1), น. 132 - 141.

จำรัส อินทลาภาพร, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่, และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปกรฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(1), น. 62-74.

ตรีประเสริฐ แสงศรีเรือง. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. วิจัยและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นภาพร วงค์เจริญ. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา. สารนิพนธ์ กศ.ม. สาขาการมัธยมศึกษากรุงเทพนคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

น้ำฝน คูเจริญไพศาล, รังสิยา ขวัญเมือง, และลลิตา มาเอี่ยม. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพน้ำสําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(21), น. 23 – 38.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2527). การทดสอบแบบอิงเกณฑ์แนวและวิธีการ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: B&B Publishing.

เปรียบฟ้า ด้วงนุ่ม, สิริ สิรินิลกุล, สุกัญญา หะยีสา, และพิศุทธวรรณ ศรีภิรมย์ สิรินิลกุล. (2560). การศึกษาความสามารถในการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิดเรื่อง พาราโบลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 28(3), น. 239- 251.

ฝากฝัน อาจรักษา, กิติศาอร เหล่าเหมมณี, และสุพัตรา ฝ่ายขันธ์. (2565). ผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานหมุนเวียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 6(1), น. 1-12.

ราตรี นันทสุคนธ์. (2554). การวิจัยในชั้นเรียนและการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: จุดทอง.

วรวุฒิ สุดจิตรจูล และสิทธิพล อาจอินทร์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเครื่องดนตรีสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13(2), น. 1-11.

ศิริลักษณ์ ชาวลุ่มบัว. (2558). การพัฒนาหลักสูตรตามแนวทางสะเต็มศึกษาเรื่องอ้อยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สมนึก ภัททยธินี. (2546). การวัดผลการศึกษา. (พิมพครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมาคมครูวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรม และคณิตศาสตร์หรือ “สะเต็มศึกษา”. วารสารสมาคมครูวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. 19,น. 4 – 5.

เสกสรร สรรสรพิสุทธิ์. (2560). เสวนาวิชาการสะเต็มศึกษา:เรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาพัฒนานวัตกรรมนำสู่อาชีพ. ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2563, จาก http://www.stemdthailand.org.

Wahono, B., Lin, P.L., & Chang, C.Y. (2020). Evidence of STEM enactment effectiveness in Asian student learning outcomes. International Journal of STEM Education. 7, 36. https://doi.org/10.1186/s40594-020-00236-1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30