การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน SPECPA Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคงทองวิทยา
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน, SPECPA Mode, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน SPECPA Model 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ 4 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน SPECPA Model กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 40 คน โรงเรียนคงทองวิทยา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บทเรียนออนไลน์แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน SPECPA สอดคล้องหลักการทำงานของวงจรคุณภาพ PDCA ผสมผสานกับการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์และออนไซต์พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน SPECPA Model มีค่าเท่ากับ (E1/E2) คือ 75.08/75.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 75/75 2. ค่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน SPECPA Model มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 86.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 12.01 โดยมีนักเรียนที่ได้ผลการเรียนระดับดีขึ้นไปจำนวน 37 คนจากนักเรียน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 92.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน SPECPA Model โดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน SPECPA Model อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กีรติ ทองเนตร. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเว็บเควสท เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียนระดับปริญญาตรี. มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal. ครุศาสตร์สาร. 15(1), น. 29-43.
ประวิต เอราวรรณ์. (2552). พื้นฐานการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14(34), น. 285-298.
สมนึก ภัททิยธนี. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อนุชา โสมาบุตร. (2556). แนวคิดการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565,จาก https://teacherweekly.wordpress.com.
Swamidass, P.M. (Ed.). (2000). DEMING CYCLE (PDCA). In Encyclopedia of Production and Manufacturing Management. Springer, Boston, MA. Retrieved January 16, 2023, from https://doi.org/10.1007/1-4020-0612-8_229.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง