ผลของโปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อตระหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิต ของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19

ผู้แต่ง

  • พิชัยรัตน์ วิเชียรมนูญญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เตรียมตัวตาย, ตระหนักรู้ความตาย, การเห็นคุณค่าในชีวิต

บทคัดย่อ

       งานวิจัยเรื่องผลของโปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อตระหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิตของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างโปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อการตะหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิตของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19  และ 2) เพื่อทดลองโปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อการตะหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิตของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ทั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  (Quasi Experimental Research) โดยกลุ่มทดลองมีจำนวน 9 คน  เครื่องมีในการวิจัยได้แก่ โปรแกรเตรียมตัวตายและการเห็นคุณค่าในชีวิต ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสม ที่ 4.33 ถือว่าเหมาะสม แบบสอบถามการตะหนักรู้ความตาย มีค่าความเชื่อมั่น .953 และแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในชีวิต มีค่าความเชื่อมั่น .958 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตินอนพาราเมตริก (Nonparametric) ใช้วิธีทดสอบแบบ Wilcoxon Matched pairs และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา Content Analysis

            ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อตระหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิตของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 รู้ตัว รู้ใจ รู้จักกัน กิจกรรมที่ 2 ความหมายของชีวิต กิจกรรมที่ 3 ความไม่แน่นอนของชีวิต กิจกรรมที่ 4 เสียงธรรมชาติ และระฆังแห่งสติ กิจกรรมที่ 5 มรณานุสติ กิจกรรมที่ 6 จุดพักพิงของชีวิต (พึ่งตนเอง) และกิจกรรมที่ 7 ไตรสิกขาและความงอกงามของชีวิต

            2) ผลการทดลองพบว่า การตระหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิต หลังการทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมสุขภาพจิต. (2565). คนไทยเครียด-ซึมเศร้าพุ่ง-โควิดซ้ำ ปี 63 ทํายอดฆ่าตัวตายเพิ่ม สสส. แนะวัยทํางานตั้งเป้าต้นปีมีสติ. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2567, แหล่งที่มา: HTTPS://DMH.GO.TH/NEWS-DMH/VIEW.ASP?ID=31456.

กาญจนา จิตต์วัฒน. (2553). การบูรณาการการเตรียมตัวตายในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับวัชรยาน. [ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เครือข่ายพุทธิกา. (2559). ปทานุกรมความตาย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สลดา.

จิตรา อุนจะนํา และคณะ. (2565). การเตรียมตัวก่อนตายตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสาร มมร วิชาการล้านนา, 11(1), 117-128.

ณัฐพล สัจกุล. (2557). ความตายและมรณสติตามทัศนะของพระไพศาล วิสาโล. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต]. คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิพย์ธิดา ณ นคร. (2563). การพัฒนาชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง.วารสารพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(2), 1-11.

นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์. (2558). แนวคิดและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1-2), 18-29.

ประสิทธิ์ กุลบุญญา. (2563). วิธีการเผชิญความตายและรูปแบบการเตรียมตัวตายสำหรับผู้สูงวัยตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 196-212.

พระครูวิธูรธรรมวิมล (ธเนศ อมโล) และ พระครูพิพิธจารุธรรม. (2562). ศึกษามรณสติเพื่อการพัฒนาชีวิต. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 1-10.

พระครูอรรถจริยานุวัตร (สุเทพ ศรีทอง). (2564). การเตรียมตัวตายตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 8(1), 55-66.

พระชาย อภินนฺโท. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนตายของผู้สูงอายุใน ชมรมปฏิบัติธรรม 24 น. จังหวัดปราจีนบุรี. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 283-291.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุนันทา กาญจนมัย. (2566). “การเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยยุคใหม่สู่การเตรียมตัวตายเชิงพุทธบูรณาการ. (บั[ดุษฎีนิพนธNพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์การอนามัยโลก. (2567). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2567 แหล่งที่มา: HTTPS://WWW.WHO.INT/THAILAND/NEWS/DETAIL/07-02-2024-UPDATE-ON-COVID-19-IN-THAILAND-- 7-FEBRUARY-2024-THA.

อารีย์ พีรพรวิพุธ และ อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2567). “การสื่อสาร ประเด็นแห่งยุคสมัย ความหมาย “การตายดี” วิถีสู่การตายอย่างสงบในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(1), 64-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

วิเชียรมนูญญา พ. (2025). ผลของโปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อตระหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิต ของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19. วารสารปัญญาและคุณธรรม, 2(1), 12–26. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JWiM/article/view/1511