แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนเวียงแหงปริยัติศึกษา

ผู้แต่ง

  • พิชัยลักษณ์ เมืองมูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารการจัดการเรียนรู้, หลักธรรมอิทธิบาท 4, แนวทาง, ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา, โรงเรียนเวียงแหงปริยัติศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ : 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเวียงแหงปริยัติศึกษา อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนาแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนเวียงแหงปริยัติศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 รูป/คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 รูป รองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 รูป ครูปฏิบัติการ 4 รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญ/ผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษา 3 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กรอบการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อให้การสัมภาษณ์นั้นเป็นไปอย่างมีระบบ และการสนทนากลุ่ม ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า :

            1) ปัญหาด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ สิ่งที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดของโรงเรียนเวียงแหงปริยัติศึกษา อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีทั้งหมด 4 ประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นปัญหาต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ คือ ด้านการกำหนดนโยบาย การบริหารและการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากร ยังขาดการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ขาดการบูรณาการใช้หลักการมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และด้านการกำหนด วิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ และมาตราต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษายังขาดความชัดเจน ซึ่งเป็นประเด็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

          2) แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนเวียงแหงปริยัติศึกษา พบว่ามีแนวทาง ดังนี้ 1.แนวทางการกำหนดนโยบายในกระบวนการบริหารและการจัดการเรียนรู้สถานศึกษา โดยบูรณาการใช้กระบวนการ มีส่วนร่วม ของบุคลากรอย่างจริงจัง ตามหลักธรรมอิทธิบาท 4 และ 2.แนวทางการจัดการเรียนการสอน การเตรียมความพร้อมของครู โดยการเพิ่มทักษะการจัดการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ และการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ ตามหลักธรรมอิทธิบาท 4 ประการ ประกอบด้วย ฉันทะ : การมีใจรัก วิริยะ : พากเพียรทำ จิตตะ : เอาจิตฝักใฝ่ และ วิมังสา : ใช้ปัญญาในการพิจารณาตรวจสอบ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553. สำนักนายกรัฐมนตรี

นันทวัน จันทร์กลิ่น. (2557). การศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านเนินมะปราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2565). พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 44). บริษัทสหธรรมมิก.

โรงเรียนเวียงแหงปริยัติศึกษา. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563-2565. สังกัดสำนักการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขต 5.

โรงเรียนเวียงแหงปริยัติศึกษา. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR). สังกัดสำนักการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขต 5.

ศิริ ถีอาสนา. (2557). เทคนิคการจัดการคุณภาพแนวใหม่: แนวคิด หลักการสู่การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2556). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 7). ไทยวัฒนาพานช.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2561). หลักการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). พิมพลักษณ์.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.(2557). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศูนย์เรียนรู้การผลิตและจัดการธุรกิจสิ่งพิมพ์ดิจิตอล มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุภัค ยมพุก และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). การบริหารสถานศึกษาและการรับรู้การสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มที่ 4. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 1476-1495. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/40325

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

เมืองมูล พ. (2024). แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนเวียงแหงปริยัติศึกษา. วารสารล้านนาวิจัยปริทรรศน์, 5(1), 62–72. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JOLRR/article/view/800