แนวทางการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน โดยใช้หลักนวัตกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนวัดเมืองสาตร

ผู้แต่ง

  • กิตติพัชญ์ ทองดี โรงเรียนวัดเมืองสาตร

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การบริหารงานวิชาการ, หลักนวัตกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนวัดเมืองสาตร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อหาแนวทางการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน โดยใช้หลักนวัตกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนวัดเมืองสาตร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิจัยพบว่า

ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันจากการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า ครูยังขาดทักษะในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ครูขาดการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนยังไม่สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน และครูขาดการใช้กระบวนการ PLC ร่วมกันกับครูภายในโรงเรียนหรือครูโรงเรียนอื่นหรือหน่วยงานอื่น 

          ผลจากการสังเคราะห์แนวทางการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักนวัตกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนวัดเมืองสาตร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า 1) ควรมีการส่งเสริมให้ครูทุกคนจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริง ที่ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน  2) ครูควรใช้กระบวนการ PLC ร่วมกันกับครูภายในโรงเรียนหรือครูโรงเรียนอื่นหรือหน่วยงานอื่น ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ 3) ควรจัดทำกระบวนการ PLC กับครูต่างโรงเรียนด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงาน องค์กร หรือเครือข่ายภายนอก ทั้งนี้โดยการนำองค์ประกอบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ Hord (1997) และของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มารวมและสังเคราะห์เข้าด้วยกัน เพื่อที่จะทำให้ครูมีกำลังใจและดำเนินกิจกรรม PLC ให้มีประสิทธิผลตามเป้าหมายของโรงเรียนต่อไป

References

จุรีรัตน์ เสนาะกรรณ. (2562). กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(1), 12-23. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/186756

ถวิล อรัญเวศ. (2550, 6 มีนาคม). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) คืออะไร. GotoKnow. https://www.gotoknow.org/posts/625211

พงศ์เทพ จิระโร และอาพันธ์ชนิด เจนจิตร. (2563). การวิจัยกำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดกิจกรรม พัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของเครือข่ายที่รับเงินทุนอุดหนุน กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพของคุรุสภา ประจำปี2562: ภูมิภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 12-26. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/247960

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2560. 21 เซ็นจูรี.

ไสว ฟักขาว. (2561). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.

อมรรัตน์ เตชะนอก, รัชนี จรุงศิรวัฒน์, และพระฮอนด้า วาทสทฺโท. (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 1-15. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246719

Hord, S.M. (1997). Professional learning communities: communities of continuous inquiry and improvement. Southwest Educational Development Laboratory.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-02

How to Cite

ทองดี ก. (2024). แนวทางการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน โดยใช้หลักนวัตกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนวัดเมืองสาตร. วารสารล้านนาวิจัยปริทรรศน์, 5(1), 28–36. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JOLRR/article/view/620