การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การดราฟลายเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ โดยใช้การจัดการเรียนรู้จากสภาพจริง

ผู้แต่ง

  • ภัทรพล พรหมมัญ พรหมมัญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • มานิตา วันเรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ณิชากร ชุมประมาณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, คอมพิวเตอร์กราฟิก, การจัดการเรียนรู้จากสภาพจริง, การดราฟลายเส้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการ Draft ลายเส้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้จากสภาพจริง 2) เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติเรื่องการ Draft ลายเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ โดยใช้การจัดการเรียนรู้จากสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 48 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากนักเรียนที่มีผลเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ โดยดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มซึ่งได้แก่ กลุ่มทดลองจำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) แบบทดสอบทางการเรียน และ 4) แบบวัดทักษะปฏิบัติ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการ Draft ลายเส้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยวิธีการการจัดการเรียนรู้จากสภาพจริงมีค่าเท่ากับ 82.17/83.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบจากการวัดทักษะปฏิบัติระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติสรุปได้ว่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย (equation) เท่ากับ 51.29 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.91และกลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนเฉลี่ย (equation) เท่ากับ 45.42 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 3.09 เมื่อเปรียบเทียบแล้วผลปรากฏว่าทักษะปฏิบัติทางการเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม

References

แก้วตา เจือนาค. (2560). การออกแบบการเรียนรู้เพื่อศตวรรษที่ 21. ใน เอกสารประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 28-29 กันยายน 2560. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

โกวิท ปวาลพฤกษ์. (2532). ศีลธรรมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

ขวัญตา ดิสริยะกุล. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.

บงกช มงคลชัย. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาจริยธรรมของเด็กนักเรียนปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Blackburn-Morrison, K.D. (2006). Three case studies of three high school teachers, definitions, beliefs, and implementation practices of inquiry-based science method including barriers to facilitators of successful implementation. Dissertation Abstracts International. 66(8), 2817-A.

Hansen, M.H., & Hurwitz, W.N. (1943). On the theory of sampling from finite populations. Annals of Mathematical Statistics. 14(4), pp. 333-362.

Prommun, P., Kantathanawat, T., Pimdee, P., & Sukkamart, T. (2022). An integrated design-based learning management model to promote Thai undergraduate computational thinking skills and programming proficiency. International Journal of Engineering Pedagogy. 12(1), pp. 75-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-02