การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • กษาปณ์ โพธิ์สวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุทธิพร บุญส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พิมลพรรณ เพชรสมบัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, ผู้บริหารสถานศึกษา, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 297 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และศึกษานิเทศก์ รวมจำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
         ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า  (1) ด้านหลักการตอบสนอง ผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) ด้านหลักภาระรับผิดชอบ ผู้บริหารต้องส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการที่เป็นระบบ (3) ด้านหลักความโปร่งใส ผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วนคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (4) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (5) ด้านหลักนิติธรรม ผู้บริหาร ต้องป้องกันการทุจริตและยึดมั่นในกฎหมาย เผยแพร่ข้อมูลและระเบียบข้อบังคับ (6) ด้านหลักความเสมอภาค ผู้บริหารจัดการข้อร้องเรียนอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว สร้างความยุติธรรมและความเท่าเทียมในสถานศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2553). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ชากร โมสกุล. (2558). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปริญญา ยกพล. (2563). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับความพึงพอใจของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

ไพฑูรย์ บัวชิด. (2550). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรเดช จันทรศร. (2550). ธรรมาภิบาล: หลักการ แนวคิด และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (2567). แผนการปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. ปทุมธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ. (2567). ป.ป.ช. เผยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประกาศผลดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจำปี 2566 ประเทศไทยได้ 35 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 108 ของโลก. เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2567 จาก https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/2727624330cdb5431a04efd022168bf62a466a4.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ: บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.

เสียงทิพย์ มัยวงค์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(70), 94-104.

อัจฉราพร กรึงไกร. (2558). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อาคม มากมีทรัพย์. (2556). จริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุษารัตน์ ดาวลอย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 สระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectations. New York: Free Press.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.

Hersey, P., & Blanchard, K. H. (1969). Management of Organizational Behavior: Utilizing Human Resources. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action. Boston: Harvard Business School Press.

Nanus, B. (1992). Visionary Leadership: Creating a Compelling Sense of Direction for Your Organization. Jossey-Bass.

World Bank. (1992). Governance and Development. Washington, DC: World Bank.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-31