Journal of Lanna Societies
https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jls
<p> </p> <table border="0" cellspacing="1" cellpadding="5" align="center"> <tbody> <tr> <td class="style44" align="right" valign="middle" bgcolor="#FFFAF4"><strong>ชื่อวารสาร</strong>:</td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD"> </td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD">Journal of Lanna Societies</td> </tr> <tr> <td class="style44" align="right" valign="middle" bgcolor="#FFFAF4"><strong>ระยะเวลาเผยแพร่</strong>:</td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD"> </td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD">4 ฉบับต่อปี (มีนาคม, มิถุนายน, กันยายน และธันวาคม)</td> </tr> <tr> <td class="style44" align="right" valign="middle" bgcolor="#FFFAF4"><strong>e-ISSN</strong>:</td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD"> </td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD">3027-6721</td> </tr> <tr> <td class="style44" align="right" valign="middle" bgcolor="#FFFAF4"><strong>รูปแบบการตีพิมพ์</strong>:</td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD"> </td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD"><span class="style43">ออนไลน์</span></td> </tr> <tr> <td class="style44" align="right" valign="middle" bgcolor="#FFFAF4"><strong>หน่วยงาน</strong>:</td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD"> </td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD">วัดเทพสุนทรินทร์</td> </tr> <tr> <td class="style44" align="right" valign="middle" bgcolor="#FFFAF4"><strong>ภาษา</strong>:</td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD"> </td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD">ไทย และ อังกฤษ</td> </tr> <tr> <td class="style44" align="right" valign="middle" bgcolor="#FFFAF4"><strong>บรรณาธิการ</strong>:</td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD"> </td> <td class="journalInfo" bgcolor="#FDFDFD">พระอนุสรณ์ เรืองปัญญารัตน์, ผศ.ดร. </td> </tr> </tbody> </table> <p><strong>ขอบเขต </strong></p> <p><strong>Journal of Lanna Societies</strong> เป็นเวทีในการแบ่งปันความรู้ที่เจาะลึกภายในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย หรือเรียกรวมกันว่าล้านนา โดยนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสังคมล้านนาซึ่งอุดมไปด้วยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสังคมวิทยา โดยมีหัวข้อที่สนใจพิเศษในประเด็นดังต่อไปนี้</p> <p><strong>1. พุทธศาสนาในสังคมล้านนา:</strong> บทบาทของพุทธศาสนาในการกำหนดโครงสร้างทางวัฒนธรรมและสังคมล้านนา รวมถึงการศึกษาวัดสำคัญ เทศกาลทางพุทธศาสนา และประเพณีสงฆ์</p> <p><strong>2. การท่องเที่ยวในวัฒนธรรมล้านนา</strong>: สำรวจว่าการท่องเที่ยวสมัยใหม่ส่งผลต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนา เศรษฐกิจท้องถิ่น และโครงสร้างทางสังคมอย่างไร</p> <p><strong>3. สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในล้านนา:</strong> การวิจัยเกี่ยวกับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม การจัดการน้ำ และการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในชุมชนล้านนา</p> <p><strong>4. วัฒนธรรมและการเรียนรู้ในสังคมล้านนา:</strong> การตรวจสอบการผสมผสานอิทธิพลของชนพื้นเมือง ไทย พม่า และลาวในวัฒนธรรมล้านนารวมถึงการเรียนรู้หรือการส่งเสริมการศึกษาเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม</p> <p><strong>5. ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</strong> เช่น สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การจัดการ ในพื้นที่ล้านนา</p> <p><strong>ลักษณะของบทความที่จะนำลงตีพิมพ์ </strong><br />1. บทความวิจัย (Research Article) <br />2. บทความวิชาการ (Academic Article) </p>
วัดเทพสุนทรินทร์ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
th-TH
Journal of Lanna Societies
3027-6721
-
คติและความเชื่อการขึ้นท้าวทั้ง 4 ของประชาชนในชุมชนห้วยม้า
https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jls/article/view/1039
<p>คติความเชื่อการประกอบพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 ของประชาชนในชุมชนห้วยม้า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) คติความเชื่อด้านความศักดิ์สิทธิ์ของท้าวทั้ง 4 พบว่า เป็นพิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านการช่วยปกปักรักษาพื้นที่ในบ้าน รวมถึงผู้ที่อาศัยให้มีความปลอดภัย ช่วยคุ้มครองทั้งในด้านสมาชิกในครอบครัว ทรัพย์สิน และช่วยดลบันดาลให้มีแต่ความสุข โดยท้าวทั้ง 4 หรือเทวดาเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อภูติผี ปีศาจ สิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย ๆ การประกอบพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การเชื่อว่าท้าวทั้ง 4 นั้นจะสามารถปกป้องภูตผี ปีศาจ ไม่ให้เข้ามาในบริเวณพื้นที่บ้านได้ เนื่องจากท้าวทั้ง 4 ถือเป็นเทวดาที่มีอิทธิฤทธิ์ และพลังอำนาจที่ทำให้ภูตผีปีศาจกลัวได้ 2) คติความชื่อด้านความเป็นสิริมงคล พบว่า ก่อนที่กระทำการมงคลใดๆ ตามคติความเชื่อของประชาชนในชุมชนห้วยม้านั้น จะมีการขึ้นท้าวทั้ง 4 เป็นอันดับแรก เพื่อเป็นการบอกกล่าวท้าวทั้ง 4 หรือ เทวดาประจำบ้านเสียก่อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการประกอบกิจการงานที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยจะทำพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 ในงานมงคล เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานปอยหลวง งานฉลองถาวรวัตถุในศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ 3) คติความเชื่อด้านการป้องกันภัยอันตราย พบว่า ท้าวทั้ง 4 หรือ เทวดาทั้ง 4 ผู้ทำหน้าที่ปกปักรักษาทั้ง 4 ทิศ นั้น คือ ท้าวกุเวร ท้าววิรุฬหก ท้าวธตะรัฐ ท้าววิรุฬปักข์ รวมถึงพระอินทร์และพระแม่ธรณี เป็นเทพยดาที่มีความศักดิ์สิทธิ์สามารถที่จะปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้นจากอันตราย หรือ ภูตผีปีศาจที่จะเข้ามาทำอันตรายบุคคลภายในบ้านได้ เพราะเป็นเทพยดาที่มีพลังอำนาจ มีบริวารและมีบารมีมาก เมื่อประกอบพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 แล้วจะช่วยปกป้องคุ้มครองภัยอันตราย ทั้งอันตรายจากภูตผีปีศาจ สิ่งที่ไม่ดี สิ่งอัปมงคลต่าง 4) คติความเชื่อด้านความกตัญญู พบว่า พิธีดังกล่าวนอกจากจะช่วยปกป้องคุ้มครองผู้คนในบ้าน และเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงความกตัญญูต่อเทวดาอารักษ์ ในฐานะผู้ปกป้องคุ้มครองบ้านเรือนให้เกิดสันติสุข</p>
อภิชา สุขจีน
พระอนุสรณ์ เรืองปัญญารัตน์
Copyright (c) 2025 Journal of Lanna Societies
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-07
2025-01-07
2 4
1
8
-
คุณค่าและความเชื่อในพิธีกรรมขึ้นท้าวทั้ง 4 ในภาคเหนือ
https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jls/article/view/1118
<p>คุณค่าของพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 ของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือมีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านจิตใจพบว่า พิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 ของชุมชนแม่หล่าย อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ช่วยก่อให้เกิดความสบายใจ ความมั่นใจสำหรับเจ้าของงาน หรือ ผู้ที่เป็นเจ้าของบ้าน ว่าเมื่อกระทำแล้วจะทำให้การงานที่จะจัดขึ้นมีความเรียบร้อย ไม่มีอุปสรรค เสมือนมีเทพยดามาคอยปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนงานจนงานแล้วเสร็จ 2) คุณค่าด้านสังคม พบว่า เป็นพิธีกรรมที่ช่วยสร้างความสามัคคีให้กับชุมชน เป็นพิธีกรรมที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงเป็นพิธีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคติความเชื่อและวิถีปฏิบัติของคนในชุมชน 3) คุณค่าด้านพิธีกรรม พบว่า พิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 นั้น เป็นพิธีกรรมที่ชุมชนห้วยม้าได้ยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยอดีต เป็นพิธีที่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ฮินดูในด้านการอัญเชิญเทพยดามาช่วยปกป้องคุ้มครองให้เกิดความเป็นสิริมงคล เป็นจุดเริ่มต้นของการประกอบกุศลพิธี บุญพิธี ทานพิธี และปกิณกะพิธีที่จะจัดขึ้นตามมาภายหลัง รวมถึงเป็นพิธีที่ส่งเสริมความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนและส่งเสริมคุณค่าทางด้านจิตใจได้เป็นอย่างดี และ 4) คุณค่าด้านประเพณีวัฒนธรรม พบว่า พิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 เป็นจุดเริ่มต้นของการประกอบกุศลพิธีต่างๆ รวมถึงเป็นพิธีกรรมแรกที่จะต้องปฏิบัติในในการประกอบประเพณีต่างๆที่ทางชุมชนร่วมกันจัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเพณีสลากภัต ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ รวมถึงประเพณีที่จัดขึ้นทั้งในหมู่บ้านและภายในวัด จะต้องมีการบอกกล่าวเทพยดา เจ้าที่ เป็นอันดับแรก</p>
พระครูโกวิทอรรถวาที
พระวุฒิชัย แย้มรับบุญ
อภิชา สุขจีน
Copyright (c) 2025 Journal of Lanna Societies
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-07
2025-01-07
2 4
9
15
-
การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าทอสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชน
https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jls/article/view/1087
<p>กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าทอมือเพื่อนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา ควรมุ่งให้ความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาพัฒนาลวดลายประยุกต์ในผืนผ้าให้เกิดแนวคิดใหม่ที่สร้างสรรค์และเกิดความสวยงามตามยุกต์สมัย สร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ มีการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ สร้างงาน สร้างรายได้ ตลอดจนได้รับมาตรฐานชุมชน พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมายการรับรอง เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและสร้างความมั่นให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ</p>
สมจิต ขอนวงค์
Copyright (c) 2025 Journal of Lanna Societies
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-07
2025-01-07
2 4
16
24