วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp <p><span style="font-size: 0.875rem;"> วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ รับบทความตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวกับด้านพุทธศาสตร์ ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บทความที่รับตีพิมพ์จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ และผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer Review) อย่างน้อย จำนวน 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double-blind Peer Review)</span></p> <p class="p1"><strong>กำหนดออกเผยแพร่<br /></strong>ปีละ 2 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ th-TH วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ 2408-2457 บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร ความต้องการจำเป็นสำหรับการส่งเสริมซอฟต์สกิลของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1605 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมซอฟต์สกิลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 14 โรงเรียน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ) และผู้ปกครองผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งสิ้นจำนวน 820 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับซอฟต์สกิลของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของสภาพปัจจุบันของผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ทักษะภาวะผู้นำ รองลงมา ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการสื่อสาร ตามลำดับ และภาพรวมของสภาพที่พึงประสงค์ของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ รองลงมา ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะภาวะผู้นำ ตามลำดับ และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมซอฟต์สกิลของผู้เรียน มีค่าดัชนีในภาพรวมเท่ากับ 0.33 ด้านที่มีค่าดัชนีมากที่สุด คือ ทักษะการสื่อสารรองลงมา คือ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะภาวะผู้นำ ตามลำดับ</p> รณชิต อภัยวาทิน เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 1 14 ประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัด พรรคก้าวไกล พ.ศ. 2566 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1606 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ กับประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล พ.ศ. 2566 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล พ.ศ. 2566 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T การทดสอบค่าความแปรปรวน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1) อายุ อาชีพ และ รายได้ที่แตกต่างกันมีประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล พ.ศ. 2566 ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.000 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ 2) ปัจจัยการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล พ.ศ. 2566 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.000 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ 3) พรรคการเมืองควรมีการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสมให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง</p> ศนิ เชาว์ประสิทธิ์ จิดาภา ถิรศิริกุล Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 15 25 ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1607 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ จำนวน 114 คน ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) แบบประเมินการตั้งเป้าหมายทางการศึกษา และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ (Relative Gain Scores)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนผลการทดสอบหลังการใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรม โดยมีคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ร้อยละ 52.83 และระดับคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์อยู่ในระดับสูง และ 2) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก</p> สุกฤษฏิ์ พงศวัฒน์ภาคิณ เจตนา เมืองมูล Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 26 36 การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน กลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1608 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 119 คน และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ที่ 0.66 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และมีแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา (Content analysis)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด โดยผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน รองลงมาด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อนักเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) ผลการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ มีผลการศึกษาดังนี้ ผู้บริหารควรจัดให้มีเวลาในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อเกิดความสัมพันธ์อันดีส่งผลให้เกิดความสะดวกต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้บริหารควรจัดให้มีการออกแบบการประเมินนักเรียนที่มีวิธีการหลากหลายด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และจำแนกนักเรียนตามกลุ่มที่สถานศึกษากำหนดมาตรฐานและเกณฑ์ไว้ โรงเรียนควรมีการสำรวจความต้องการการจัดกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งด้านวิชาการ และด้านทักษะอาชีพ โรงเรียนควรจัดให้มีการอบรมครูเพื่อเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการแนะแนวและเทคนิคการให้คำปรึกษา ส่งผลให้การแก้ไขปัญหานักเรียนถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ และผู้บริหารควรมีการชี้แจงกับผู้ปกครองและนักเรียนให้เข้าใจถึงความจำเป็นของการส่งต่อนักเรียนและควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถส่งต่อนักเรียนได้ทันสถานการณ์ เป็นต้น</p> สมบูรณ์ แก้วทุย ดารณีย์ พยัคฆ์กุล Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 37 52 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1609 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต 3) เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วิธีดำเนินการเป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 385 คน จากประชากรในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ทั้งหมด 10,114 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ปัจจัยระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับการ<br>บูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยใช้วิธีการหาค่าถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ระดับหลักสังคหวัตถุ 4 กับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.75)และบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.82)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ที่ส่งผลต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก จึงยอมรับสมมติฐาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า 1) ด้านทาน : การให้ความรู้ ความเข้าใจ จัดกิจกรรมรณรงค์ในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน จัดสถานที่แหล่งการเรียนรู้ คอยแนะนำให้คำปรึกษา สร้างเสริมรายได้จากขยะภายในชุมชน 2) ด้านปิยวาจา : การใช้ถ้อยคำที่สุภาพเข้าใจง่าย ถ้อยคำที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่สามารถปฏิบัติได้จริง เป็นประโยชน์ในการจัดการขยะมูลฝอยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้แต่สอดแทรกด้วยความรู้ด้านการจัดการขยะมูลฝอย 3) ด้านอัตถจริยา : การประพฤติประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับขยะในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันถ่วงที เพื่อจะได้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนอย่างเต็มที่ เป็นแบบอย่างที่ดี 4) ด้านสมานัตตตา : ความเสมอต้นเสมอปลาย การประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องและไปในทิศทางเดียวกัน ทำเป็นแนวเดียวกันไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนในชุมชนแต่ละพื้นที่</p> สิฎฐิณิศา ธราสกุลปกรณ์ สายัณห์ อินนันใจ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 53 69 ทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร ของเทศบาลตำบลศาลากลาง https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1610 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการของงานทะเบียนราษฎรของเทศบาลตำบลศาลากลาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการของงานทะเบียนราษฎรของเทศบาลตำบลศาลากลาง และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิพลเมืองกับทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการของงานทะเบียนราษฎรของตำบลศาลากลาง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคำนวณด้วยสูตรของ Yamane &nbsp;เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากจำนวน 400 คน ได้แก่ ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการที่งานทะเบียนราษฎรของเทศบาลตำบลศาลากลาง สถิติในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ การทดสอบค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) ทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการของงานทะเบียนราษฎรของเทศบาลตำบลศาลากลาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน มีทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการของงานทะเบียนราษฎรของเทศบาลตำบลศาลากลาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;3) ปัจจัยด้านสิทธิพลเมืองมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการของงานทะเบียนราษฎรของเทศบาลตำบลศาลากลาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ปรียานุช สุขเพชร์ ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร จิดาภา ถิรศิริกุล Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 70 79 การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญางานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1611 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการออกแบบและเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญางานพุทธศิลป์ จังหวัดแพร่ และเพื่อถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่และสร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางภูมิปัญญาพุทธศิลป์ให้เกิดคุณค่าสู่มูลค่าทางภูมิปัญญาในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. การสร้างงานพุทธศิลป์ของจังหวัดแพร่ ล้วนเริ่มต้นมาจากความเชื่อและความศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมนำมาสู่การสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อันล้ำค่า และยังเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้จากช่างสล่าในแต่ละยุคสมัยผสมผสานกับความเชื่อด้านศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประเพณีและวัฒนธรรม นำไปสู่การสร้างสรรค์ การออกแบบ ประดิษฐ์เป็นลวดลายต่าง ๆ บนธรรมาสน์ บุษบก ตุงกระด้าง และพระพุทธรูปไม้แกะสลัก ให้ได้สะท้อนถึงความเป็นอัตลักษณ์แต่ละบุคคลหรือแต่ละพื้นที่ ในการอาศัยอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติได้เป็นอย่างดี</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. รูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดและพัฒนาทักษะของงานสล่าพุทธศิลป์ของช่างพุทธศิลป์ จังหวัดแพร่ ใช้วิธีการเชิงระบบในการสังเคราะห์ ดังนั้น รูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดและการพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์ของช่างพุทธศิลป์ จังหวัดแพร่ ต้องอาศัยความสนใจของแต่ละบุคคลเป็นพื้นฐาน เพื่อการผลิตชิ้นงานที่มีความประณีตมากยิ่งขั้น และทักษะด้านงานพุทธศิลป์ก็ต้องอาศัยความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญในการผลิต งานพุทธศิลป์เกิดขึ้นได้เพราะความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนของตนเอง และการสนับสนุนจากผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้นช่วยเสริมสร้างให้มีทักษะในการปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ</p> พระมหาสิทธิชัย ปัญญาไวย์ พระใบฎีกาศักดิธัช แสงธง รวีโรจน์ ศรีคำภา พระราชเขมากร Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 80 95 การพัฒนาหลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1612 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ&nbsp; 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบแผนที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน - หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเจริญศิลป์ จังหวัดแพร่ สำนักงานศึกษาธิการแพร่ เขต 1 จำนวน 38 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร แบบทดสอบวัดความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม และร้อยละ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. หลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 เรื่อง จุดนั้นสำคัญไฉน หน่วยที่ 2 เรื่อง โปรดี โค้ดส่งฟรี ร้านนี้เท่านั้น 5) การจัดการเรียนการสอน 6) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และ 7) การวัดผลประเมินผล ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของคู่มือหลักสูตรในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> วรลักษณ์ เสมอใจ ปริญญาภาษ สีทอง Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 96 110 แนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่อง ระดับมัธยมศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1613 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ 3) ตรวจสอบแนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) แนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ มีทั้งหมด 25 ขั้นตอน แบ่งเป็นการเตรียมความพร้อมการจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ 7 ขั้นตอน การร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฐานสมรรถนะ 5 ขั้นตอน การนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้ 6 ขั้นตอน และการประเมินหลักสูตรฐานสมรรถนะ 7 ขั้นตอน 3) การตรวจสอบแนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ มีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> ภูริวัฒน์ เขนย สุบัน พรเวียง มนต์นภัส มโนการณ์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 111 122 วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธ ของประชาชนในการเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1614 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)จำนวน 400 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOWA) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูปหรือคน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ตามหลักอปริหานิยธรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=3.83) ส่วนวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=3.99) 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุและอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ การศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน 3. การส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า 1) ด้านหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ควรมีการหมั่นประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านพร้อมเพรียงกันประชุม ควรมีการเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน 3) ด้านการไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่สมควรบัญญัติ ไม่ตั้งกฎระเบียบของสังคมที่ขัดต่อกฎหมาย 4) ด้านการเคารพนับถือผู้ใหญ่ ควรให้เกียรติผู้นำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ 5) ด้านการให้เกียรติต่อสตรี ควรเปิดโอกาสให้สตรีเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานอย่างเสมอภาค 6) ด้านการสักการะเคารพสถานที่ปฏิบัติงาน ไม่ทำลายทรัพย์สินของทางราชการหรือก่อความวุ่นวายในชุมชน 7) ด้านการให้การอารักขา คุ้มครอง อันชอบธรรมแก่ประธานขณะปฏิบัติงาน ควรช่วยกันปกป้องคุ้มครองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่นและสถานที่สำคัญของชุมชน</p> วินิตย์ ศรีอุบล สมจิต ขอนวงค์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 123 140 ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันในวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1615 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 2) ศึกษาความผูกพันในวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันในวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตในการทำงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและสังคม 2) ความผูกพันในวิชาชีพครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความผูกพันอันเนื่องมาจากความรู้สึก และ3) ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันในวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r=.665**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> วรากร อุดธรรมใจ สถิรพร เชาวน์ชัย สายฝน วิบูลรังสรรค์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 141 156 แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1616 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย 2) ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย และ3) ประเมินแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน โรงเรียนชายขอบจังหวัดเลย จำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากชม อำเภอด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว อำเภอเชียงคาน อำเภอภูเรือ และอำเภอท่าลี่ จำนวน 267 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเรียงลำดับค่าดัชนีความต้องจำเป็น</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น ในภาพรวม (PNI<sub>modified </sub>= 0.29) 2) ผลการศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย พบว่า มีทั้งหมด 4 ด้าน 16 แนวทาง ได้แก่ ด้านวิชาการ มี 4 แนวทาง ด้านงบประมาณ มี 4 แนวทาง ด้านการบริหารงานบุคคล มี 4 แนวทาง และด้านการบริหารทั่วไป มี 4 แนวทาง และ 3) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้และความถูกต้องของแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> บุญชัย จันทนา สุนิสา วงศ์อารีย์ม ธีระพล เพ็งจันทร์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 157 173 การบริหารวัดในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาท https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1620 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบริหารวัด 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่เกี่ยวกับการบริหารวัดในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อบูรณาการการบริหารวัดในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารวัดในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน/รูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหานำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดเชียงใหม่มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ บูรณาการการบริหารวัดโดยยึดหลัก 6 ประการ คือ การปกครอง การศึกษา การเผยแพร่ การสาธารณูปการ การสาธารณสงเคราะห์และการศึกษาสงเคราะห์ โดยเอื้อเฟื้อ สังวร ประพฤติ ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช จังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล 5 บริหารวัดด้วยหลักอปริหานิยธรรม ก่อให้เกิดรูปแบบการบริหารดังนี้ คือ (1) รูปแบบความสามัคคี (2) รูปแบบการเคารพต่อขบวนธรรมเนียมประเพณีเดิมของท้องถิ่นรักษาขนบธรรมเนียมที่ดีงาม (3) รูปแบบการเคารพนับถือผู้อาวุโส (4) รูปแบบการให้เกียรติส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค (5) รูปแบบการเคารพซึ่งกันและกันและ (6) รูปแบบการปกป้องคุ้มครอง องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ การน้อมนำหลักพุทธปรัชญาในการบริหาร เกิดความตระหนักต่อส่วนรวม เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและมีความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน ทำงานเป็นทีมเสริมสร้างชุมชน องค์กรและสถาบันให้เข้มแข็ง&nbsp; <br><br></p> พระครูมนูญธรรมทัต อุเทน ลาพิงค์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 174 188 ระบบการสอนออนไลน์โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมการสอนสังคมศึกษาของนิสิตครุศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1621 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคในการสอนออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นรูปแบบผสมวิธีวิจัยแบบพัฒนา (R&amp;D) โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 24 รูป/คน การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 รูป/คน เพื่อใช้องค์ความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาเป็นระแบบ และการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสมของระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัย พบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์/การใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. วิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคในการสอนออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า 2.1) ด้านสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ คือ การวางแผนระแบบการสอน เช่น สร้างสื่อในการผสมผสานการเรียนการสอนออนไลน์ให้นิสิตไม่รู้สึกเบื่อหน่าย การเรียนรู้แบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ เป็นการเรียนที่มีความมีความยึดหยุ่นสูง เพราะฉะนั้นผู้เรียนจำต้องมีความรับผิดชอบในการเรียนมากกว่าปกติ 2.2) ด้านปัญหา อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ คือ การเรียนออนไลน์ทุกบ้านที่เหมาะสมกับการเรียนออนไลน์ เรียนท่ามกลางเสียงรบกวน นิสิตทุกคนไม่ได้มีอุปกรณ์สื่อสารเป็นของตัวเองบางครอบครัวที่มีบุตรหลานหลายคน อาจจะต้องแบ่งกันใช้ 2.3) ด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ คือ ให้นิสิตได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกระตุ้นนิสิตสม่ำเสมอด้วยวิธีสอนตามแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การใช้บทเรียนไปประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. สร้างและพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า 3.1) ระดับความคิดเห็นความพึงพอใจต่อระบบการสอนออนไลน์โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมการสอนสังคมศึกษาของนิสิตครุศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงราชวิทยาลัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ด้านปัจจัยเกื้อหนุน อยู่ในระดับปานกลาง 3.2) ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 14.50 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.18 และผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนมีค่าเฉลี่ย 18.21 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.06 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4. ประเมินประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า การประเมินประเมินประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์อยู่ในระดับมาก</p> พระสมพงษ์ ณฏฺฐิโก เฒ่าเง้า สมชัย ศรีนอก นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 189 202 ขึด : มุมมองบนฐานปรากฎการณ์วิทยาของชาร์ตร์ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1622 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; “ขึด” เป็นคำล้านนาโบราณซึ่งปรากฏในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย จัดเป็นความเชื่อหนึ่งซึ่งสำคัญและมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา โดยทั่วไป “ขึด” หมายถึงสิ่งที่ไม่ดี ชั่วร้าย เสนียดจัญไร และความเป็นอัปมงคลต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่ข้อห้ามอันเป็นการป้องกันการละเมิดขึด ความเชื่อเกี่ยวกับ “ขึด” ดังกล่าวนี้ เมื่อพิจารณาสามารถเข้าใจได้ในฐานะ “ภาพ” กระนั้นก็ตาม “ภาพ” ของขึดกลับไม่สามารถตรงกับวัตถุเชิงประจักษ์ใดในโลก เช่นนั้นจึงไม่สามารถยืนยันการมีอยู่ของขึดได้ อย่างไรก็ตามด้วยอาศัยมุมมองปรากฏการณ์วิทยาของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ ซึ่งได้เน้นความสำคัญของกระบวนการไปที่สิ่งที่เรียกว่า “สำนึก” อันเป็นจุดสำคัญต่อการรับรู้และเข้าใจของมนุษย์อันมีต่อโลก “ภาพ” ของขึด จึงสามารถปรากฏในสำนึกได้ และภาพดังกล่าวนี้เป็นปรากฏการณ์ซึ่งมาจากผัสสะและทั้งมาจากการที่มนุษย์ในการให้ความหมายแก่ภาพนั้น ดังนั้นเมื่อพิจารณาบนกระบวนการเช่นนี้ การรับรู้และเข้าใจความหมายของ “ขึด” จึงมีความเป็นไปได้</p> สุทธิกานต์ สิทธิกุล Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 203 217 องค์ความรู้เรื่องจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1623 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จนกระทั่งป่วยอยู่ในระยะท้ายหรือกำลังจะเสียชีวิตจากโรค เรียกว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องการดูแลรักษาแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพทางด้านกาย ใจ สังคม และจิตวิญาณ ดังนั้น เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ การช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างสบาย ปราศจากความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้มีความเชื่อว่า การตายดีหรือการตายอย่างสงบและมีสติเป็นเรื่องสำคัญ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงเป็นการดูแลที่อาศัยบุคคลที่มีจิตอาสาเป็นหลักในการช่วยเหลือบุคคลอื่นให้ได้รับความสุข มีหลักพรหมวิหารธรรม มีเมตตากรุณาต่อผู้ป่วย มีความเป็นกลาง มีความเป็นธรรม เพราะความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีความซับซ้อน และมีการพัฒนาจิตอาสาของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามหลักสังคหวัตถุธรรม ได้แก่ มีความเสียสละ มีความซื่อตรง มีความยุติธรรม ปราศจากอคติหรือความลำเอียงต่อบุคคลที่ตนช่วยเหลือ</p> พระครูวินิตกมลธรรม พระใบฎีกาศักดิธัช แสงธง Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 218 232 อนุปุพพิกถากับการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1624 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนได้กล่าวอธิบายถึงเรื่องอนุปุพพิกถากับการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา อนุปุพพิกถา เป็นพระธรรมเทศนาที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้แสดงไปตามลำดับจากง่ายไปหายาก เพื่อฟอก และขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟัง ให้สะอาดหมดจด และประณีตลึกซึ้งขึ้นไปเป็นชั้น ๆ จากง่ายไปหายาก จนจิตของผู้ฟังสงบมีจิตอ่อน ปราศจากนิวรณ์ จิตเบิกบานจิตผ่องใสแล้ว และมีความเข้าใจในธรรมของพระพุทธเจ้า อนุปุพพิกถาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงประกอบด้วย ทานกถา สีลกถา สคฺคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมานิสังสกถา ภายหลังจากพระพุทธเจ้าแสดงอนุปุพพิกถาแล้ว ถ้าหากผู้ฟังสามารถชำระกิเลสของตนให้เบาบางลงได้ตามที่ทรงแสดงแล้วต่อไปก็จะแสดง อริยสัจ 4&nbsp; จนทำให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมชั้นใดชั้นหนึ่ง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;อนุปุพพิกถา 5 และอริยสัจ 4&nbsp; คือ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงมากที่สุด จึงเรียกว่า “พหุลานุศาสนี” การแสดงธรรมอนุปพพิกถาเป็นขัดเกลาจิตใจของผู้ฟังไปโดยลำดับแต่เวลาแสดงจริง ๆนั้นไม่จำเป็นต้องแสดงครบทั้งหมด 5 ข้อ ผู้ฟังสามารถจะเรียนรู้ประพฤติปฏิบัติได้ในระดับใดก็จะทรงแสดงในระดับนั้น พระธรรมเทศนาเรื่องอนุปุพพิกถานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ยสกุลบุตร บุตรเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี เป็นครั้งแรก &nbsp;จนยสกุลบุตรได้บรรลุธรรม และขออุปสมบทเป็นพระในพุทธศาสนา</p> พระมหานักรบ อรินฺทโม พรหมเรศ แก้วโมลา Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-04 2025-04-04 10 1 233 247