ขึด : มุมมองบนฐานปรากฎการณ์วิทยาของชาร์ตร์

ผู้แต่ง

  • สุทธิกานต์ สิทธิกุล ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ขึด, ขนบล้านนา, ฌอง-ปอล ซาร์ตร์, ปรากฎการณ์วิทยาของชาร์ตร์

บทคัดย่อ

          “ขึด” เป็นคำล้านนาโบราณซึ่งปรากฏในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย จัดเป็นความเชื่อหนึ่งซึ่งสำคัญและมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา โดยทั่วไป “ขึด” หมายถึงสิ่งที่ไม่ดี ชั่วร้าย เสนียดจัญไร และความเป็นอัปมงคลต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่ข้อห้ามอันเป็นการป้องกันการละเมิดขึด ความเชื่อเกี่ยวกับ “ขึด” ดังกล่าวนี้ เมื่อพิจารณาสามารถเข้าใจได้ในฐานะ “ภาพ” กระนั้นก็ตาม “ภาพ” ของขึดกลับไม่สามารถตรงกับวัตถุเชิงประจักษ์ใดในโลก เช่นนั้นจึงไม่สามารถยืนยันการมีอยู่ของขึดได้ อย่างไรก็ตามด้วยอาศัยมุมมองปรากฏการณ์วิทยาของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ ซึ่งได้เน้นความสำคัญของกระบวนการไปที่สิ่งที่เรียกว่า “สำนึก” อันเป็นจุดสำคัญต่อการรับรู้และเข้าใจของมนุษย์อันมีต่อโลก “ภาพ” ของขึด จึงสามารถปรากฏในสำนึกได้ และภาพดังกล่าวนี้เป็นปรากฏการณ์ซึ่งมาจากผัสสะและทั้งมาจากการที่มนุษย์ในการให้ความหมายแก่ภาพนั้น ดังนั้นเมื่อพิจารณาบนกระบวนการเช่นนี้ การรับรู้และเข้าใจความหมายของ “ขึด” จึงมีความเป็นไปได้

References

เกษม เพ็ญภินันท์, คงกฤช ไตรยวงค์, ดลวัฒน์ บัวประดิษฐ์ และคณะ (2566). วิธีวิทยาทางปรัชญา. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.

กีรติ บุญเจือ. (2522). ชุดปัญหาปรัชญา : ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม (Existentialism). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง องค์ความรู้เรื่อง “ขึดในล้านนา”. (2541). สถาบันราชภัฏลำปาง : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏลำปาง.

คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช (บรรณาธิการ). (2539). ขึด : ข้อห้ามในล้านนา. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2552). ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

สงวน โชติสุขวัฒน์. (มปป). ตําราพิธีส่งขึดและอุบาทว์. เชียงใหม่ : ประเทืองวิทยา.

สุวรัฐ แลสันกลาง. (2541). แนวคิดเชิงปรัชญาเรื่องขึดในล้านนา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

Craig, Edward (Ed.). (2005). The shorter routledge encyclopedia of philosophy. New York: Routledge Taylor & Francis Group.

Davis, Richard B. (1984). Muang Metaphysics: A Study of Northern Thai Myth and Ritual, Bangkok: Pandora.

Hume, David. (1900). An Enquiry Concerning Human Understanding (Reprinted from the Edition of 1777). Chicago: The Open Court Publishing Company.

Locke, John. (1825). An Essay Concerning Human Understanding (25th edition). London: Printed by Thomas Davison, Whitefriars.

Rée, Jonathan. and Urmson, J. O. (2005). The Concise Encyclopedia of Western Philosophy. New York: Routledge Taylor & Francis Group.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-04

How to Cite

สิทธิกุล ส. (2025). ขึด : มุมมองบนฐานปรากฎการณ์วิทยาของชาร์ตร์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, 10(1), 203–217. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1622