การบริหารวัดในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระครูมนูญธรรมทัต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารวัด, หลักอปริหานิยธรรม, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบริหารวัด 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่เกี่ยวกับการบริหารวัดในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อบูรณาการการบริหารวัดในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารวัดในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน/รูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหานำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดเชียงใหม่มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ บูรณาการการบริหารวัดโดยยึดหลัก 6 ประการ คือ การปกครอง การศึกษา การเผยแพร่ การสาธารณูปการ การสาธารณสงเคราะห์และการศึกษาสงเคราะห์ โดยเอื้อเฟื้อ สังวร ประพฤติ ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช จังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล 5 บริหารวัดด้วยหลักอปริหานิยธรรม ก่อให้เกิดรูปแบบการบริหารดังนี้ คือ (1) รูปแบบความสามัคคี (2) รูปแบบการเคารพต่อขบวนธรรมเนียมประเพณีเดิมของท้องถิ่นรักษาขนบธรรมเนียมที่ดีงาม (3) รูปแบบการเคารพนับถือผู้อาวุโส (4) รูปแบบการให้เกียรติส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค (5) รูปแบบการเคารพซึ่งกันและกันและ (6) รูปแบบการปกป้องคุ้มครอง องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ การน้อมนำหลักพุทธปรัชญาในการบริหาร เกิดความตระหนักต่อส่วนรวม เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและมีความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน ทำงานเป็นทีมเสริมสร้างชุมชน องค์กรและสถาบันให้เข้มแข็ง 

References

พระขจรศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ. (2562). การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 2(2), 20-22.

พระเจริญ ทนฺตจิตฺโต (คางคํา). (2564). การบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีด้วยกระบวนทัศน์ใหม่.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหายุทธพิชัย สิริชโย และธิติวุฒิ หมั่นมี. (2561). การบริหารงานตามหลักอปหานิยธรรม. วารสารสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 7(2), 146.

สถาบันพระสังฆาธิการ สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่. (2564). รายงานทะเบียนวัดจังหวัดเชียงใหม่. เรียกใช้เมื่อ 8 กรกฎาคม 2565 จาก https://data.go.th/th/dataset/item_2df6 add3-2ebd-455c-8020-af962accbee2.

อำนวย สุวรรณคีรี. ระบบการบริหารจัดการสํานักงานพระสังฆาธิการตามแนวธรรมาภิบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(5), 1924-1930.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-04

How to Cite

พระครูมนูญธรรมทัต, & ลาพิงค์ อ. (2025). การบริหารวัดในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, 10(1), 174–188. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1620