การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • สิฎฐิณิศา ธราสกุลปกรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร
  • สายัณห์ อินนันใจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร

คำสำคัญ:

หลักสังคหวัตถุ 4, บทบาท, การจัดการ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต 3) เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วิธีดำเนินการเป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 385 คน จากประชากรในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ทั้งหมด 10,114 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ปัจจัยระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับการ
บูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยใช้วิธีการหาค่าถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ

         ผลการวิจัยพบว่า

          1. ระดับหลักสังคหวัตถุ 4 กับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.75)และบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.82)

          2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ที่ส่งผลต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก จึงยอมรับสมมติฐาน

          3. การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า 1) ด้านทาน : การให้ความรู้ ความเข้าใจ จัดกิจกรรมรณรงค์ในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน จัดสถานที่แหล่งการเรียนรู้ คอยแนะนำให้คำปรึกษา สร้างเสริมรายได้จากขยะภายในชุมชน 2) ด้านปิยวาจา : การใช้ถ้อยคำที่สุภาพเข้าใจง่าย ถ้อยคำที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่สามารถปฏิบัติได้จริง เป็นประโยชน์ในการจัดการขยะมูลฝอยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้แต่สอดแทรกด้วยความรู้ด้านการจัดการขยะมูลฝอย 3) ด้านอัตถจริยา : การประพฤติประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับขยะในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันถ่วงที เพื่อจะได้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนอย่างเต็มที่ เป็นแบบอย่างที่ดี 4) ด้านสมานัตตตา : ความเสมอต้นเสมอปลาย การประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องและไปในทิศทางเดียวกัน ทำเป็นแนวเดียวกันไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนในชุมชนแต่ละพื้นที่

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม : รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. เรียกใช้เมื่อ 13 กันยายน 2565. จาก http://www.mnre.go.th/ sisaket/th/news/detail/131454.

ดาวนภา เกตุทอง. (2563). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์. 3(2), 46-57.

เทศบาลตำบลป่าแมต. (2566). ข้อมูลประชากร. สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลป่าแมต : เทศบาลตำบลป่าแมต, (อัดสำเนา).

นิภา ทัตตานนท์. (2563). ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองสำหรับประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีธรรมประสาธน และกันตภณ หนูทองแก้ว. (2562). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุในโครงการประชารัฐเพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนศรีธรรมโศก จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(2), 1012 - 1028.

พระโสภณ โสภโณ (ทองสม). (2563). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนวัดใหม่ทุ่งคา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2(3), 15-25.

ไพลิน สุขเกษม. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอยแบบครบวงจรของเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. เรียกใช้เมื่อ13 กันยายน 2565 จาก http://library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/ 2556/19979.

มีนา มงคล. (2565). การจัดการขยะด้วยพลังชุมชนในตำบลป่าแมต : รายงานโครงการนวัตกรรมท้องถิ่น. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม : เทศบาลตำบลป่าแมต.

รัฐกูล เสนารา. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อมาตรการควบคุมโรคโควิค 19 ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 20). (2560). หมวด 14. การปกครองท้องถิ่น (มาตรา 249-254). เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. (6 เมษายน 2560). น. 74-75.

สุพิทักษ์ โตเพ็ง และฉัณทิพย์ จำเดิมเผด็จศึก. (2564). บทบาทของนักการเมืองกับหลักธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 11(3), 471-485.

Yamane T., Statistic : AnIntroductory Analysis. 3rd ed. (New York : Harper & Row. 1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-04

How to Cite

ธราสกุลปกรณ์ ส., & อินนันใจ ส. (2025). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, 10(1), 53–69. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1609