การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน กลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สมบูรณ์ แก้วทุย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ดารณีย์ พยัคฆ์กุล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, แนวทางการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 119 คน และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ที่ 0.66 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และมีแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา (Content analysis)

         ผลการวิจัยพบว่า

         1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด โดยผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน รองลงมาด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อนักเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน

          2) ผลการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ มีผลการศึกษาดังนี้ ผู้บริหารควรจัดให้มีเวลาในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อเกิดความสัมพันธ์อันดีส่งผลให้เกิดความสะดวกต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้บริหารควรจัดให้มีการออกแบบการประเมินนักเรียนที่มีวิธีการหลากหลายด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และจำแนกนักเรียนตามกลุ่มที่สถานศึกษากำหนดมาตรฐานและเกณฑ์ไว้ โรงเรียนควรมีการสำรวจความต้องการการจัดกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งด้านวิชาการ และด้านทักษะอาชีพ โรงเรียนควรจัดให้มีการอบรมครูเพื่อเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการแนะแนวและเทคนิคการให้คำปรึกษา ส่งผลให้การแก้ไขปัญหานักเรียนถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ และผู้บริหารควรมีการชี้แจงกับผู้ปกครองและนักเรียนให้เข้าใจถึงความจำเป็นของการส่งต่อนักเรียนและควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถส่งต่อนักเรียนได้ทันสถานการณ์ เป็นต้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต. (2556). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ขวัญเนตร มูลทองจาด. (2564). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เฉลิมพงษ์ สุขสมพนารักษ์. (2561). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านช่างหม้อ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ญาณิศา เยี่ยมสิริวุฒิ. (2564). การจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นูรมาน พิทักษ์สุขสันต์. (2564). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหาสถานศึกษาในอำเภอสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สุภัสสร สุริยะ. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสยาม.

Creswell, J. W. (1998). Qualitative Inquiry and Research Design : Choosing Among Five Approaches (2 rd ed.). Thousand Oaks : Sage Publications.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Best, John W. (1981). Research in Education. New Delhi: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-04

How to Cite

แก้วทุย ส., & พยัคฆ์กุล . ด. (2025). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน กลุ่มเพชรชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, 10(1), 37–52. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1608