ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุกฤษฏิ์ พงศวัฒน์ภาคิณ สาขาวิชาวิจัยและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาอีสเทอร์น
  • เจตนา เมืองมูล สาขาวิชาวิจัยและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาอีสเทอร์น

คำสำคัญ:

กรอบความคิดแบบเติบโต, เสริมสร้างการเรียนรู้

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ จำนวน 114 คน ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) แบบประเมินการตั้งเป้าหมายทางการศึกษา และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ (Relative Gain Scores)

         ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนผลการทดสอบหลังการใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรม โดยมีคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ร้อยละ 52.83 และระดับคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์อยู่ในระดับสูง และ 2) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

References

กรมวิชาการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

คณิศร์ จับจิตต์. (2559). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมงานแนะแนวในในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ณฤทธิ์ วรงค์. (2561). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นฤมล สุ่นสวัสดิ์. (2558). การตั้งเป้าหมายของชีวิตและการทำงาน. วารสารสนเทศ. 14(2), 23-24.

นาฏศิลป์ คชประเสริฐ. (2557). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนว เพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหันคาพิทยาคม จังหวัดชัยนาท (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรรณภา ส่งแสงแก้ว. (2556). ผลของโปรแกรมพัฒนาแรงจูงใจและการตั้งเป้าหมายในการเรียนที่มีต่อนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเอกชน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มุทิตา อดทน. (2561). ผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลวรรณ เพชรเศรษฐ์. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา. (2558). Growth Mindset การพัฒนากรอบความคิด. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-04

How to Cite

พงศวัฒน์ภาคิณ ส., & เมืองมูล เ. (2025). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, 10(1), 26–36. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jgrp/article/view/1607