วารสารมนุษยวิชาการ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jah <p><strong><img src="https://so13.tci-thaijo.org/public/site/images/journaljah/----2-625d49b174031f39070976cc89f76834.png" alt="" width="800" height="450" /></strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร (Aims of the Journal) <br /></strong><strong> </strong>วารสารมนุษยวิชาการเป็นวารสารบริการวิชาการแก่สังคม โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเผยแผ่ผลงานทางวิชาการและองค์ความรู้ด้านการวิจัยของคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต/นักศึกษาของมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานทั่วไป 2) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนการสอนและผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต/นักศึกษาของมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานทั่วไป 3) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างบุคลากร หน่วยงานของภาครัฐและเอกชน</p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์</strong> <strong>(Scope of the Journal)<br /></strong><strong> </strong>ขอบเขตเนื้อหาที่วารสารเปิดรับ ได้แก่ 1) ด้านพุทธศาสนาและปรัชญา 2) ด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 3) ด้านศึกษาศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p><strong>รูปแบบการการตีพิมพ์</strong><strong> (Process of Publication)<br /> </strong>กองบรรณาธิการให้ความสำคัญต่อกระบวนการจัดทำวารสาร ตั้งแต่การคัดเลือกบทความ การประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีอย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ โดยเป็นการประเมินในรูปแบบการปกปิดชื่อผู้ประเมินและผู้เขียน (Double-blind Peer Review) และบทความต้นฉบับต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น<br /> ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด ในกรณีกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองบทความมีความเห็นว่า ควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นหลัก และขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ในกรณีที่บทความไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และรูปแบบของวารสารนี้ หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หากบทความใดได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ตีพิมพ์ ผู้เขียนจึงจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์จากวารสาร<br /> ข้อความ ตาราง ภาพ กราฟ หรือการแสดงความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารมนุษยวิชาการ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารมนุษยวิชาการแต่อย่างใด </p> <p><strong>ประเภทของบทความ (</strong><strong>Types of Articles)<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article)<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article)<br /> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ (</strong><strong>Languages)<br /></strong><strong> </strong>ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>การกำหนดตีพิมพ์ (</strong><strong>Publication Frequency)<br /></strong><strong> </strong>กำหนดเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ (ราย 3 เดือน) คือ<br /><strong> </strong>ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม<br /><strong> </strong>ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน<br /><strong> </strong>ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน<br /><strong> </strong>ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ <br /></strong> วารสารยังไม่กำหนดค่าตีพิมพ์ (ฟรี)<br /><br /><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ :<br /><br />เจ้าของวารสาร (Owner)</strong><strong style="font-size: 0.875rem;"><br /></strong> ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลลำปางการช่าง <br /> เลขที่ 257 หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000 <br /> โทร. 09 8562 5419, 09 3027 6325, 09 2795 9626 <br /> E-mail: journaljah@gmail.com</p> th-TH บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร journaljah@gmail.com (อาจารย์ ดร.กฤตสุชิน พลเสน) journaljah@gmail.com (อาจารย์ ดร.สุรชัย พุดชู และอาจารย์ ดร.สิริพร ครองชีพ) Wed, 16 Apr 2025 20:30:45 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของการบูชาตามแนวทางมงคลสูตร https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jah/article/view/1713 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดหลักการบูชาที่ปรากฏในมงคลสูตร 2) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของการบูชาตามแนวมงคลสูตร การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก ตำราวิชาการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้น วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมทำให้เกิดความเชื่อและการบูชา เพื่ออ้อนวอนให้เกิดความแคล้วคลาด การบูชาจึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตมนุษย์สืบกันมา พระพุทธศาสนาสอนเรื่องการบูชาไว้ในมงคลสูตรที่ว่า “การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลอย่างสูงสุด” สมัยพุทธกาลการบูชามี 2 ลักษณะ คือ (1) การบูชายัญ (2) การบูชาไฟ เป็นการบวงสรวงด้วยสิ่งมีชีวิตโดยทำการฆ่าเพื่อบูชาเทพเจ้าในอุดมคติของตน ปัจจุบันการบูชาเป็นการอ้อนวอนขอให้ช่วยเหลือ ขอโชคลาภ มุ่งผลเพียงรอผลจากสิ่งที่บูชา ความจริงแล้ว การบูชาที่ถูกต้องต้องเป็นการปฏิบัติเพื่อให้ชีวิตเจริญก้าวหน้าที่เรียกว่า มงคล และเป็นกิริยาที่แสดงถึงความเคารพต่อบุคคลและสถานที่ ในมงคลสูตรการบูชามี 2 ลักษณะ คือ (1) บุคคลที่ควรบูชา คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์ มารดาบิดา ครูอาจารย์ (2) สิ่งที่ควรบูชา คือ สถูป สถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เจดีย์ การบูชามีลักษณะ 2 ประเภท คือ (1) อามิสบูชา การบูชาด้วยสิ่งของ (2) ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติ 2) คุณค่าของการบูชาตามแนวทางมงคลสูตร ดังนี้ (1) คุณค่าด้านบุคคล การบูชาเพื่อน้อมนำหลักธรรมมาพัฒนาตน ถือเป็นเป้าหมายสำคัญ เพราะเมื่อพัฒนาตนดีแล้ว ย่อมสามารถพึ่งตนเองได้ (2) คุณค่าด้านครอบครัว การแสดงเคารพนับถือกันและกันในครอบครัวเป็นพื้นฐานที่ทำให้ครอบครัวมีความมั่นคง มีความรักความเข้าใจที่ดีต่อกัน รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็น พร้อมที่จะให้อภัยเมื่อทำผิด (3) คุณค่าด้านสังคม การยอมรับกฎระเบียบ การเคารพในสิทธิหน้าที่ของตนเองและคนอื่น ให้ความสำคัญผู้อื่นพอกับความสำคัญของตนเอง (4) คุณค่าด้านศาสนา การบูชาเป็นเครื่องแสดงถึงการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา คนในสังคมมีการบูชา เคารพนับถือกัน ก็จะทำให้สังคมอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข อันเป็นการบูชาที่มีผลยั่งยืน องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การชี้ให้เห็นว่า การบูชาที่แท้จริงไม่ใช่แค่พิธีกรรม แต่เป็นการเคารพอย่างมีสติ และใช้ศรัทธาในการพัฒนาตน ครอบครัว สังคม และศาสนาอย่างกลมกลืน</p> พระปลัดสุกฤษฏิ์ ปิยสีโล (ทะรินทร์), พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร, พระครูใบฎีกาเฉลิมพล อริยวํโส (คำเชื้อ) Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jah/article/view/1713 Thu, 08 May 2025 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบวัตรปฏิบัติกับสมบัติผู้ดีในสังคมไทย https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jah/article/view/1714 <p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความหมาย ลักษณะและองค์ประกอบของวัตรปฏิบัติในพระวินัยปิฎก 2) เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติวัตรในพระวินัยปิฎก 3) เพื่อเปรียบเทียบวัตรปฏิบัติกับสมบัติผู้ดีในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสารจากพระไตรปิฎกและเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า วัตรปฏิบัติเป็นกิจที่พระสงฆ์พึงกระทำประจำวัน เป็นธรรมเนียมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในวัตตขันธกะ โดยมีความหมาย 2 ประการ คือ (1) ข้อวัตร กิจ ธรรมเนียม (2) การกระทำตามข้อวัตร การปฏิบัติกิจ การทำตามธรรมเนียม (วิธีการ) โดยเนื้อหาของวัตรปฏิบัติมีลักษณะเด่น 2 ประการ คือ (1) เป็นข้อห้าม (2) เป็นข้อปฏิบัติ (บังคับ) และประกอบด้วยวัตร 14 ข้อ แต่ละข้อประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) เรื่องอันเป็นเหตุให้ทรงบัญญัติข้อวัตร (2) ข้อวัตรที่ทรงบัญญัติ ส่วนวิธีการปฏิบัติวัตรมี 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) รูปแบบที่เป็นกิจจะลักษณะโดยเปล่งวาจาทั้งสองฝ่าย (2) รูปแบบที่ไม่ประกอบด้วยพิธี แต่ต้องศึกษาฝึกอบรมให้เป็นนิสัย เมื่อเปรียบเทียบวัตรปฏิบัติกับสมบัติผู้ดีในสังคมไทยแล้วปรากฏว่า ความหมาย ลักษณะ องค์ประกอบ วิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน แต่เนื้อหาบางส่วนคล้ายกัน จึงสรุปว่า สมบัติผู้ดีในสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากวัตรปฏิบัติในพระวินัยปิฎก เพราะความคล้ายคลึงของเนื้อหาบางส่วน ความมีวินัยของพระสงฆ์ และคุณสมบัติของผู้ตรวจทาน องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การเห็นความสอดคล้องกันของข้อวัตรกับสมบัติผู้ดี โดยหลักพระพุทธศาสนามีข้อวัตรใน 2 ลักษณะ คือ 1) รูปแบบที่เป็นกิจจะลักษณะโดยเปล่งวาจาทั้งสองฝ่าย 2) ข้อวัตรที่ไม่มีรูปแบบ เทียบกับสมบัติผู้ดีจะสอดคล้องกันในประเด็นการสำรวจอิริยาบถทั้ง 4 เป็นส่วนใหญ่ และข้อวัตรปฏิบัติจะเป็นข้อบัญญัติสำหรับนักบวช ดังนั้น วัตรปฏิบัติจึงมีลักษณะเป็นละเอียดอ่อนมากกว่าสมบัติผู้ดีที่เป็นมารยาทของผู้ครองเรือน</p> สุเทพ สารบรรณ, นพดล อินปิง, สิริกานดา คำแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jah/article/view/1714 Thu, 08 May 2025 00:00:00 +0700 กฎต้องเป็นกฎ: พระพุทธเจ้าสอนภาวะผู้นำเชิงพุทธ พันท้ายนรสิงห์ปฏิบัติ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jah/article/view/1686 <p>บทความวิชาการนี้ต้องการสะท้อนถึงภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติที่เน้น “ความตรงไปตรงมา” ที่ภาษาบริหารใช้คำว่า “โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล” หรือในคติทางพระพุทธศาสนาใช้คำว่า “ตรงไปตรงมา-ยถาวาที ตถาการี-พูดอย่างไรทำอย่างนั้น” ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัย เขียนออกมาในรูปความเรียงแบบบทความวิชาการ การศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของผู้นำ และผู้นำที่มีภาวะผู้นำ ก็จะต้องเป็นผู้นำเชิงจริยธรรม หรือมีจริยธรรมของการนำด้วย ดังที่ปรากฏในครั้งพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสก่อนที่จะปรินิพพานว่า “ธรรมและวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์” ซึ่งหมายถึงหลักการต้องเป็นหลักที่สำคัญ และอีกนัยหนึ่งที่ว่า เมื่อมีหลักแล้วต้องปฏิบัติตามหลัก ดังพุทธพจน์ที่ว่า พูดคำไหนปฏิบัติตามคำนั้น เรียกว่า เป็นคุณสมบัติของผู้นำที่จะต้องมีภาวะแห่งการนำไปปฏิบัติได้ จากการบรรยายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่วัดอินทารามได้ นำพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าผ่านภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธเจ้า ทั้งการโปรดองคุลีมาล การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีของนางจิญจมาณวิกา การปราบพญามาร ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นภาวะผู้นำและสะท้อนออกมาเป็นพุทธประวัติผ่านจริยาวัตรในพระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวมไปถึงบุคคลที่เป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำที่เป็นแบบอย่าง คือ พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งแนวประวัติศาสตร์ตีความยังไม่ได้บทสรุปว่า มีอยู่จริงหรือไม่ แต่ได้สะท้อนเรื่องเชิงพฤติกรรมต่อความซื่อตรงต่อหลักการ “กฎต้องเป็นกฎ” โดยใช้ความตายเป็นเครื่องมือ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพระพุทธศาสนาที่ว่า “สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตและสละชีวิตเพื่อรักษาธรรม” ซึ่งจัดเป็นภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสนา องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือ การพบประเด็นเรื่องความสัตย์จริง ซึ่งมีพันท้ายนรสิงห์นำไปปฏิบัติจนเป็นแบบอย่างของความสัตย์ชื่อต่อหลักการที่ตรงไปตรงมา</p> ดิเรก ด้วงลอย, พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, มัลลิกา ภูมะธน Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jah/article/view/1686 Thu, 08 May 2025 00:00:00 +0700