ย่ามสิ่งประดิษฐ์ กับจินตกรรมทางความคิด สะพาย คล้องแขน และจริยธรรมสากล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นบทความที่สะท้อนคิดวิเคราะห์กับย่ามและพฤติกรรมและจริยธรรมสากล มีเป้าหมายเพื่อการสะท้อนคิดถึงพฤติกรรมและการะทำที่ตรงและสอดคล้องกับความเป็นจริงเชิงสังคม ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัย เขียนเป็นความเรียงในรูปแบบทความวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า ย่ามเป็นเป็นสิ่งใช้ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา รวมทั้งเป็นสิ่งใช้ในสังคมไทยด้วยค่านิยมที่เปลี่ยนไป ทำให้ย่ามไม่มีในสังคมองค์รวมแต่ยังอยู่ในกลุ่มพระภิกษุสามเณรในประเทศไทย แต่ค่านิยมเกี่ยวกับย่าม ได้กลายเป็นพฤติกรรมในเชิงสังคม ซึ่งเกิดคำถามว่าย่ามควรจะถูกคล้องแขนด้วยสายยาว หรือว่าควรจะถูกสะพายด้วยไหล่เพราะสายยาว หรือเหตุผลใด แต่ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้กำหนดให้การไม่สะพายย่ามเป็นจริยธรรมแบบหนึ่งของสังคม ที่ต้องสื่อสารบ่งบอกถึงความงามความดีและค่านิยม ซึ่งในข้อเท็จจริงแนวคิดนี้เป็นเพียงจินตกรรมทางความเชื่อและไม่สอดคล้องกับจริยธรรมสากลอื่น เช่นความตรงต่อเวลา ความมีวินัยทางสังคม และความรับผิดชอบทางสังคม ซึ่งนัยยะของการสะท้อนคิดของบทศึกษานี้จึงต้องการสื่อว่าควรมีการปรับท่าทีเชิงพฤติกรรม และชุดจินตกรรมทางความคิดอย่างใหม่เพื่อปรับค่านิยมให้สอดคล้องกับจริยธรรมทางสังคมในฐานะพลเมืองดิจิตอลต่อไป