วารสารปัญญาและคุณธรรม https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JWiM <p><strong>ISSN : 3057-1677 (Online) </strong></p> <p><strong>วารสารปัญญาและคุณธรรม</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้นักวิชาการและผู้สนใจ ได้เสนอและเผยแพร่บทความบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทรรศน์ และบทความพิเศษ ที่ได้มาตรฐานสู่สาธารณชน รวมทั้งยกระดับผลงานทางวิชาการให้ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายถอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ เปิดรับบทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา สันติศึกษา สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ก่อให้ปัญญาและคุณธรรม วารสารฯ กำหนดให้มีการเผยแพร่บทความ ปีละ 4 ฉบับ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> Foundation of Buddhism for Peace th-TH วารสารปัญญาและคุณธรรม <p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร</p> อิทธิพลทุนทางจิตวิทยากับพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม ของบุคลากร ทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JWiM/article/view/1470 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับอิทธิพลทางนิเวศวิทยา 2) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ของอิทธิพลทางนิเวศวิทยากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) อิทธิพลทางนิเวศวิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่1 คือด้านความหวัง รองลงมา คือ ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านมองโลกในแง่ดี และอันดับสุดท้าย คือ ด้านความยืดหยุ่น ตามลำดับ 2) พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่ 1คือ ด้านความพึงพอใจในงาน รองลงมา คือ ด้านความพยายามในงาน และอันดับสุดท้ายคือ ด้านความน่าสนใจในงาน ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลทุนทางจิตวิทยากับพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) อิทธิพลทางนิเวศวิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่1 คือด้านความหวัง รองลงมา คือ ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านมองโลกในแง่ดี และอันดับสุดท้าย คือ ด้านความยืดหยุ่น ตามลำดับ 2) พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่ 1คือ ด้านความพึงพอใจในงาน รองลงมา คือ ด้านความพยายามในงาน และอันดับสุดท้ายคือ ด้านความน่าสนใจในงาน ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลทุนทางจิตวิทยากับพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01</p> ธิดารัตน์ คล้ายนาค Copyright (c) 2025 วารสารปัญญาและคุณธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-31 2025-03-31 2 1 1 11 ผลของโปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อตระหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิต ของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JWiM/article/view/1511 <p> งานวิจัยเรื่องผลของโปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อตระหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิตของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างโปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อการตะหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิตของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 และ 2) เพื่อทดลองโปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อการตะหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิตของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ทั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) โดยกลุ่มทดลองมีจำนวน 9 คน เครื่องมีในการวิจัยได้แก่ โปรแกรเตรียมตัวตายและการเห็นคุณค่าในชีวิต ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสม ที่ 4.33 ถือว่าเหมาะสม แบบสอบถามการตะหนักรู้ความตาย มีค่าความเชื่อมั่น .953 และแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในชีวิต มีค่าความเชื่อมั่น .958 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตินอนพาราเมตริก (Nonparametric) ใช้วิธีทดสอบแบบ Wilcoxon Matched pairs และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา Content Analysis</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมเตรียมตัวตายเพื่อตระหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิตของคนวัยทำงานในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 รู้ตัว รู้ใจ รู้จักกัน กิจกรรมที่ 2 ความหมายของชีวิต กิจกรรมที่ 3 ความไม่แน่นอนของชีวิต กิจกรรมที่ 4 เสียงธรรมชาติ และระฆังแห่งสติ กิจกรรมที่ 5 มรณานุสติ กิจกรรมที่ 6 จุดพักพิงของชีวิต (พึ่งตนเอง) และกิจกรรมที่ 7 ไตรสิกขาและความงอกงามของชีวิต</p> <p> 2) ผลการทดลองพบว่า การตระหนักรู้ความตายและการเห็นคุณค่าในชีวิต หลังการทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> พิชัยรัตน์ วิเชียรมนูญญา Copyright (c) 2025 วารสารปัญญาและคุณธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-31 2025-03-31 2 1 12 26 ผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม ณ วัดโรจนประภา จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JWiM/article/view/1510 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างโปรแกรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม ณ วัดโรจนประภา จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม ณ วัดโรจนประภา จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีกลุ่มทดลอง จำนวน 15 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวัดคุณภาพชีวิต มีคะแนนความเชื่อมั่นที่ .963 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตินอนพาราเมตริก ใช้วิธีทดสอบแบบ Wilcoxon Matched pairs และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม ณ วัดโรจนประภา จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการปฏิบัติแบบเคลื่อนไหวตามแนวหลวงพ่อเทียน และกิจกรรมการปฏิบัติจำนวน 7 วัน คิดเป็นรายชั่วโมงของการปฏิบัติจำนวน 42 ชั่วโมง รูปแบบกิจกรรมมี 4 ลักษณะได้แก่ 1) ฟังบรรยาย 2) สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น 3) ปฏิบัติอิริยาบถหลัก นั่ง-เดินจงกรม 4) ปฏิบัติอิริยาบถย่อย</p> <p>2) ผลการทดลองพบว่า หลังการทดลองคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ด้านกาย สุขภาพทางกายดีขึ้นจากการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม การพักผ่อนเป็นเวลา และการฝึกสติด้วยการเคลื่อนไหวและเดินจงกรม 2) ด้านสังคม สัมพันธภาพดีขึ้นจากการเกื้อกูลและแบ่งปันกัน รวมถึงการทำงานร่วมกันอย่างมีน้ำใจ 3) ด้านจิตใจ มีสติรู้ทันความคิด ลดความวิตกกังวล มีจิตเมตตา และมีความเบิกบานมากขึ้น 4) ด้านปัญญา เข้าใจธรรมะและกฎไตรลักษณ์ลึกซึ้งขึ้น ปล่อยวางได้ดี และประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาชีวิต</p> สุทัศน์ ขจายศรสิทธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารปัญญาและคุณธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-31 2025-03-31 2 1 27 40 อิทธิพลทางนิเวศวิทยากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JWiM/article/view/1471 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลทางนิเวศวิทยา 2) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ของอิทธิพลทางนิเวศวิทยากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) อิทธิพลทางนิเวศวิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือด้านการเป็นอิสระ รองลงมาคือด้านการให้การสนับสนุน ด้านการเปลี่ยนแปลง และอันดับสุดท้ายคือด้านโครงสร้างตามลำดับ 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อันดับที่ 1 คือด้านลักษณะของงาน รองลงมาคือด้านความรับผิดชอบในงาน และอันดับสุดท้ายคือด้านความก้าวหน้าในงานตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ของอิทธิพลทางนิเวศวิทยากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมมีค่าความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> ชมพูนุช เจริญพงษานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารปัญญาและคุณธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-31 2025-03-31 2 1 41 51 สิทธิหน้าที่: เยาวชนยุคใหม่กับการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JWiM/article/view/1270 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอมุมมองเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเยาวชนในการพัฒนาการปกครองตามหลักประชาธิปไตย โดยเยาวชนเป็นกลุ่มที่มีบทบาทและอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองอย่างมาก การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาประชาธิปไตยไม่เพียงแต่ส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบการเมือง แต่ยังช่วยสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับอนาคตของประเทศที่เป็นไปตามหลักของสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งสิทธิและหน้าที่ดังกล่าวที่เยาวชนพึงกระทำเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้เกิดประชาธิปไตยที่มั่นคงคือ มีความรับผิดชอบผ่านการมีบทบาทในการผลักดันนโยบายหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รอบรู้สร้างสรรค์มีด้วยการศึกษาและรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองอย่างรอบด้านจากหลายแหล่งเพื่อให้เกิดเข้าใจตามเหตุและผล ยึดมั่นวิถีประชาธิปไตยที่ต้องมีความเข้าใจและเคารพในกติกาของสังคมประชาธิปไตย ใส่ใจในความเท่าเทียมที่ต้องไม่เลือกปฏิบัติแสดงออกถึงการเคารพผู้อื่นและความแตกต่างที่มีในสังคม จะเห็นได้ชัดเจนจากเยาวชนยุคใหม่มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีผ่านช่องทางต่างๆ อย่างสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้ยึดหลักดังกล่าวข้างต้นเพื่อการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและสังคมอย่างสร้างสรรค์และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นหลักสำคัญที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งทางประชาธิปไตย</p> ชิตาภา รัตนารักษ์ กฤศน์วัต ประสาน พัชรีญา ฟองจันตา ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารปัญญาและคุณธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-31 2025-03-31 2 1 52 61