วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ <p>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี รับพิจารณาตีพิมพ์บทความวิจัย และบทความวิชาการด้านการศึกษา ได้แก่ การศึกษาปฐมวัย สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ทั่วไป คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ศึกษา พลศึกษา หลักสูตรและการสอน บริหารการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว การศึกษาพิเศษ และสาขาที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง</p> journal.edu@dru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา สังข์พุ่ม ) journal.edu@dru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณนภา โพธิ์ผลิ) Wed, 02 Oct 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาชุดกิจกรรมเรื่องชีวิตดีครอบครัวมีสุขกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/998 <p><span style="font-weight: 400;">การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องชีวิตดีครอบครัวมีสุขให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชีวิตดีครอบครัวมีสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนการเรียนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมเรื่อง ชีวิตดีครอบครัวมีสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ชีวิตดีครอบครัวมีสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 3 ชุด 2) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมเรื่อง ชีวิตดีครอบครัวมีสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง ชีวิตดีครอบครัวมีสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน t-test (dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 84.98/84.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า คะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยการทดสอบก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> กุลนิษฐ์ วงศ์แก้ว Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/998 Wed, 02 Oct 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/1002 <p><span style="font-weight: 400;">การพัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษด้านทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียนด้วย ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้ ชุดฝึกทักษะสำหรับครู จำนวน 1 เล่ม 2) ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษด้านการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 ข้อ จำนวน 2 ฉบับ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า 1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.78/84.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่าคะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนด้วย ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 16.47 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.70 3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (</span><span style="font-weight: 400;"><img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation">=&nbsp;4.61, S.D. = 0.53)&nbsp;</span></p> ดารัตน์ พงษ์สุวรรณ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/1002 Wed, 02 Oct 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/1004 <p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนา</span><span style="font-weight: 400;">ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ</span><span style="font-weight: 400;"> 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้งาน</span><span style="font-weight: 400;">ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์</span><span style="font-weight: 400;">ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ </span><span style="font-weight: 400;">กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเลือกแบบเจาะจง โดยจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 1) อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 5 คน 2) อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 คน 3) นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาชั้นปี 4 จำนวน 10 คน </span><span style="font-weight: 400;">4) นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปี 4 จำนวน 39 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ </span><span style="font-weight: 400;">ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ของคณะ</span><span style="font-weight: 400;">ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ และ</span><span style="font-weight: 400;">แบบสอบถามประสิทธิภาพการใช้งาน</span><span style="font-weight: 400;">ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ</span><span style="font-weight: 400;"> สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า </span><span style="font-weight: 400;">ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์</span><span style="font-weight: 400;">ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ</span><span style="font-weight: 400;">พบว่า ประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีประสิทธิภาพในการใช้งานด้านความสามารถในการทำงานของระบบ (functional test) อยู่ในเกณฑ์</span><span style="font-weight: 400;">มากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77 รองลงมา คือด้านผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม (result test) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 และลำดับสุดท้ายคือ</span><span style="font-weight: 400;">ด้านความปลอดภัย (security test) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.95</span></p> ณัฐชนัญ เสริมศรี, รัชนาท วัฒโนภาษ, อภัสรา แจ่มจำรัส Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/1004 Wed, 02 Oct 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การดราฟลายเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ โดยใช้การจัดการเรียนรู้จากสภาพจริง https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/1008 <p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการ Draft ลายเส้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้จากสภาพจริง 2) เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติเรื่องการ Draft ลายเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ โดยใช้การจัดการเรียนรู้จากสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 48 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากนักเรียนที่มีผลเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ โดยดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มซึ่งได้แก่ กลุ่มทดลองจำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) แบบทดสอบทางการเรียน และ 4) แบบวัดทักษะปฏิบัติ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการ Draft ลายเส้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยวิธีการการจัดการเรียนรู้จากสภาพจริงมีค่าเท่ากับ 82.17/83.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบจากการวัดทักษะปฏิบัติระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติสรุปได้ว่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"></span><span style="font-weight: 400;">) เท่ากับ 51.29 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.91และกลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนเฉลี่ย (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"></span><span style="font-weight: 400;">) เท่ากับ 45.42 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 3.09 เมื่อเปรียบเทียบแล้วผลปรากฏว่าทักษะปฏิบัติทางการเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม</span></p> ภัทรพล พรหมมัญ พรหมมัญ, มานิตา วันเรียน, ณิชากร ชุมประมาณ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/1008 Wed, 02 Oct 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประมวลผลคำโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้บรูเนอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/1011 <p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา</span><span style="font-weight: 400;">ประมวลผลคำก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้บรูเนอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชา</span><span style="font-weight: 400;">ประมวลผลคำ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้บรูเนอร์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา</span><span style="font-weight: 400;">ปีที่ 1 จำนวน 37 คน โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้รายวิชาประมวลผลคำ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาประมวลผลคำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที </span><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังใช้ทฤษฎีการเรียนรู้บรูเนอร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชาประมวลผลคำ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้บรูเนอร์อยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 </span><span style="font-weight: 400;"><br></span><span style="font-weight: 400;">และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40</span></p> จิระพงศ์ ฉันทพจน์, สุภาวดี กันตุ่ม, ณิชากร โชติ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/1011 Wed, 02 Oct 2024 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/1014 วาสนา สังข์พุ่ม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/DRUEDJ/article/view/1014 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700